วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การทำงานเพื่อการดำรงชีวิต


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องการทำงานในชีวิตประจำวัน




หลักในการทำงาน 6P  มีดังนี้

p  ที่1  PositiveThinking  การมีทัศนคติเป็นบวก

P  ที่2  Peaceful  Mimd  การมีจิตใจที่สงบ

P  ที่3  Patent  การมีความอดทน

P  ที่5  Polite  การเป็นคนสุภาพ

P  ที่6  Protessional  ความเป็นมืออาชีพในการทำงาน
     

   ในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จจำเป้นต้องมีการปรับปรุง
และพัฒนาวิธีการทำงานอยู่เสมอโดยอาศัยกระบวนการ  PDCA  4  ขั้นตอน
ได้แก่  P  (plan)  D (Doing)  C  (check)  A  (Act)และหลักการ
D  E  V  E  L  O  P  คือหลักการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ
 Development  ตรวจสอบจุดแข็งและจุดบกพร่อง
Endurance  อดทนต่อความเครียดและแรงกดดัน
Versatile  ในการทำงานเป็นกลุ่มนั้นจะต้องอาศัยคนที่มีความรู้ความสามารถ
Energetic  จะต้องมีความกระตือรือร้น
Love  ในการทำงานนั้นต้องรู้สึกรักงาน
Orgenizing  ในการทำงานต้องรู้ว่าควรจัดการอะไรก่อน หลัง
Positive thinking  มองโลกในแง่ดี

3.ทักษะในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิต




ทักษะเพื่อพัฒนาการทำงาน หมายถึง การนำความรู้  ความสามารถ  เทคนิค  และวิธีการต่างๆมาใช้ในการปฎิบัติให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทิภาพ  ซึ่งผู้ปฎิบัติงานจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถในงานที่ทำมีทักษะ ในกานวิเคราะห์งาน  มีการวางแผนในการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สามารถแก้ปัญหาได้  มีความคิดริเริ่ม  มีความสามารถในการบริหารงาน  สามารถปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นและสถานที่ได้เป็นอย่างดี  ที่สำคัญจะต้องสามารถเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้เพื่อการทำงานให้เกิดประประสิทธิ ภาพสูงสุด  ผู้ปฎิบัติงานจะต้องมีการและพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งทักษะเพื่อพัฒนาการทำงานที่สำคัญ  มีดังนี้

    ๑ ทักษะการแสวงหาความรู้
กานทำงานให้สำเร็จและมีประสิทธิภาพได้นั้น  ผู้ปฎิบัติวานจะต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง  การแข่งขัน  ดังนั้น  ผู้ปฎิบัติงานจะต้องมีการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา  เพื่อนำความรู้มาใช้และพัฒนาการทำงานต่างๆ  ทั้งในชีวิตประจำวันและการทำงานร่วมกับผู้อื่นการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาการทำงานเป็การคึกษาหาความรู้ การฝึกฝน เพื่อการทำงานการทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และการสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้งานได้ วิธีการแสวงหาความรู้ มีดังนี้
๑.๑) การสังเกต  โดยเฝ้าดูสิ่งที่เราพเห็นอย่างใส่ใจ แล้วนำมาวิเคราะห์หรือหาความสัมพันธ์สิ่งที่เกิดขึ้นกับสิ่งอื่นๆ



   ๑.๒)การฟัง โยการรับฟังผู้อื่นด้วยใจที่เปิด ไม่คิด เพื่อฟังรับข้อมูลต่างๆแล้วนำมาประมวลผลความคิดเป็นของตนเองเป็นการสั่งสมความรู้ให้กับผู้ฟังได้เป็นอย่างดีแหล่งข้อมลในการฟังที่ดี เช่น เข้าร่วมฟังบรรยาย เข้าร่วมอบรมความรู้ต่างๆ




 ๑.๓) การซักถาม  เมื่อมีการรับฟังข้อมูลจากแหล่งต่างๆ แล้ว เมื่อมมีขัอสงสัยก็ให้ซักถามแต่การซักถามนั้นจะต้องมีการ

 ๑.๔) การอ่าน โดยการคึกษาความรู้จากเอกสาร ตำรา สื่อต่างๆ ที่มีมากมายการอ่านเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ทำให้เป็นคนมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ก้าวทันสถานการณ์เป็นการพัฒนาด้านอารมณ์ ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น การอ่านนวนิยาย

  ๑.๕) การคึกษาค้นคว้า โดยการแแสวงหาข้อเท็จจริงในข่าวสาร ข้อมูล ความเข้าใจ ความคิดเห็นในรูปแบบต่างๆ ด้วยตนเองทั้งตำรา เอกสารทางวิชาการ แหล่งการเรียนรู้จากครอบครัว ชุมชน เป็นต้น


  ๑.๖)การสัมภาษณ์ โดยการสนสนทนพูดคุยกับบุคคลต่างๆ อย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อค้นหาความรู้ ความจริงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า และนำความรู้ที่ได้ไปประโยชน์ในการรวบร่วม เผยแพร่ต่ไป

  ๑.๗) การรวบร่วมและบันทึกข้อมูล วิธีการดำเนินการเพื่อเก็บรวบร่วมข้อมูลจากการแสวงหาความรู้ และบันทึกข้อมูลนั้นให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น บันทึกในแฟ้มเอก บันทึกลงสมุดไว้คอมพิวเตอร์ จัดทำเป็นฐานข้อมูลสารสนเทศ เป็นต้น


๒ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน
ในการทำงานใดๆ ก้ตามต้องพบกับปัญหาและจะต้องมีการตัดสินใจ การแก้ปัญหาจึงเป็นกระบวนการของความพยายามในการทำงานเพื่อให้ประสบความสำเร็จ เมี่อมีปัญหาเกิดขึ้นมาสามารถหาแนวแก้ปํญหาได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งคุณณสมบัติเด่นของนักแก้ปัญหา คือ จะต้องมองเห็นปํญหาตั่งแต่ที่ยังเป็นปัญหาเล็กๆ อยู่ มีมุมมองต่างๆ ที่กว้างไกล กล้าเผชิญกับปํญหาและพยายามหาหนทางใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาอย่างไม่ย่อท้อ ฉับไว แก้ปัญหาได้อย่างเด็ดขาดและท่วงที โดยทั่วไปแล้วกระบวนการแก้ปํญหาในการทำงสนมี ๖ ขั้นตอน ดังนี้










4.การใช้พลังงานและทรัพยากรณ์ อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน

 การพัฒนาที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือของมนุษย์ด้วยกันเอง คือมนุษย์ต้องตระหนักว่า การพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้าได้จําเป็นต้องพัฒนาให้สมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจคุณภาพชีวิต รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งมีหลักการสําคัญของการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืนในสาขาต่างๆ ดังนี้

               1. หลักการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน

 ในการจัดการป่าไม้ต้องคํานึงถึงความยั่งยืนของศักยภาพการอํานวยน้ำ ความยั่งยืนของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ภายในระบบนิเวศ โดยที่ยังคงเอื้อประโยชนให้แก่ประชาชน นักวิทยาศาสตร์ และนักท่องเที่ยวต่อไปได้ ในเรื่องนี้คงจะต้องมีการจัดสรรพื้นที่การใช้ประโยชน์ให้เหมาะสม จะต้องมีการควบคุมการใช้ประโยชน์ในแต่ละประเภทให้มีความรัดกุม ชัดเจนเพียงพอที่จะนําไปปฏิบัติ รวมทั้งต้องหามาตรการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และได้ประโยชน์ไปพร้อมๆ กัน

               2. หลักการใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน

 ทรัพยากรประมงเป็นทรัพยากรที่มีลักษณะเฉพาะตัว คือเป็นสาธารณสมบัติ (Commen Property) ดังนั้นทุกคนจึงมีเสรีภาพในการที่จะเข้าไปเก็บเกี่ยวใช้ประโยชน์จากทรัพยากรนี้ สําหรับข้อเสนอในการควบคุมการใช้ทรัพยากรประมงก็คือ การควบคุมอาชญาบัตรประมง เป็นต้น นอกจากนี้การอนุรักษ์ทรัพยากรประมงที่สําคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในทะเล โดยจะต้องคุ้มครองให้สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นสามารถสืบทอดลูกหลานต่อไปได้ ดังนั้นในการอนุรักษ์ทรัพยากรการประมงจึงจําเป็นต้องศึกษาและกําหนดอาณาเขตพร้อมทั้งควบคุมการใช้ ประโยชน์ พื้นที่ดังกล่าวให้เหมาะสมอีกด้วย 

               3. หลักการทําการเกษตรแบบยั่งยืน 

ปัจจัยที่มีผลให้เกิดระบบเกษตรแบบยั่งยืน มี 2ประการ คือ

                    - ความหลากหลายทางชีวภาพ (Diversity) ของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศเกษตร (Agro-ecosystem) นั้นๆ
                    - ความผสมกลมกลืน ((Harmonization) โดยอาศัยความหลากหลายที่เกิดขึ้นในระบบเกษตรนั้น จะต้องมีความผสมกลมกลืนกัน ในการอาศัยพึ่งพาเกื้อกูลซึ่งกันและกันภายใต้ สถานการณ์ปัจจุบันเกษตรกรจึงต้องเผชิญหน้ากับปัญหาความเสื่อมโทรมของดินปัญหาวัชพืช ปัญหาโรคพืชและแมลงศัตรูพืช ดังนั้นการปรับเปลี่ยนแบบแผนการผลิตโดยสร้างความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบการผลิตและระบบนิเวศเกษตรจึงมีความจําเป็น ดังนั้นระดับที่เกษตรกรแต่ละรายปรับเปลี่ยนได้ก็จะแตกต่างกันไป บางรายอาจจะนําแบบแผนเก่ากลับมาใช้ได้ บางรายอาจจะปรับสู่ระบบเกษตรผสมผสานที่มีกิจกรรมเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ที่เกื้อกูลกัน มีการปรับพื้นที่ เช่น ยกร่อง ขุดบ่อปลามีการทําสวนผลไม้ ปลูกผัก และเลี้ยงสัตว์ รวมถึงการทํานาในอาณาบริเวณที่ใกล้เคียงกัน บางรายที่มีข้อจํากัดในการปรับพื้นที่ และไม่พร้อมที่จะเลี้ยงสัตว์ ก็อาจจะใช้ระบบวนเกษตร ซึ่งอาศัยการพึ่งพากันระหว่างพืชและเน้นความหลากหลายของพืชเป็นหลัก
              4. หลักการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบยั่งยืน 
วิธีการลดมลพิษในระบบการผลิตนั้น อาจทําได้ดังนี้
                    - การจัดการที่ดีในการควบคุมตรวจสอบการทํางานของระบบการผลิตให้เกิดของเสียน้อยที่สุด                    - เปลี่ยนวัสดุการใช้หรือปัจจัยการผลิต หรือเปลี่ยนสูตรการผลิตที่ก่อมลพิษ                    - ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรการผลิตประสิทธิภาพสูงขึ้น                    - หมุนเวียนนําวัสดุกลับมาใช้ใหม่จากของเสียอุตสาหกรรมในประเทศไทยปัญหาในการกําจัดของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมก็ยังคงมีอยู่ เพราะว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เงื่อนไขที่สําคัญที่จะนําไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมแบบยั่งยืน คือความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยที่จะจัดการของเสียของตนเอง เพื่อลดความจําเป็นในการนําเข้าเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีราคาแพงจากต่างประเทศลง
               5. หลักการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน 
ทุกๆ ส่วนในสังคมจะต้องร่วมกันหามาตรการและเป็นผู้ดําเนินการใช้พลังงานอย่างประหยัด
               6. หลักการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน
 การควบคุมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติที่ประสานกลมกลืนกับธรรมชาติ เปิดโอกาสให้กลไกของธรรมชาติดําเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยสามารถรักษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศนั้นให้ดํารงอยู่ได้ ในการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน จะต้องคํานึงถึงการย่อยสลายในระบบนิเวศด้วย เพราะกระบวนการย่อยสลายจะเป็นกระบวนการสําคัญในการทําให้ทรัพยากรเหล่านั้นได้รับการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่จึงเป็นเรื่องจําเป็นที่รัฐบาลจะต้องกําหนดแนวทางในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้ชัดเจน โดยจําแนกทรัพยากรตามศักยภาพการใช้ประโยชน์และคุณค่าทางนิเวศวิทยาถ้าเราสามารถใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน เราก็จะสามารถมีชีวิตอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้อีกมาก ความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำและดิน ความสดชื่นของอากาศและความสวยงามตามธรรมชาติก็คงจะหวนกลับมาและอยู่กับลูกหลานของเราได้ต่อไป
               7. การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน 
หมายถึงการพัฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว และผู้เป็นเจ้าของท้องถิ่นในปัจจุบัน โดยมีการปกป้องและสงวนรักษาโอกาสต่างๆ ของอนุชนรุ่นหลังด้วย การท่องเที่ยวนี้มีความหมายรวมถึงการจัดการทรัพยากรเพื่อตอบสนองความจําเป็นทางเศรษฐกิจ สังคมและความงามทางสุนทรียภาพ ในขณะที่สามารถรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและระบบนิเวศด้วย โดยแนวทางการสร้างกรอบนโยบายและแนวทางปฏิบัติดังนี้
                    - มุ่งพัฒนาการท่องเที่ยวในประเทศก่อนการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ                    - ต้องคํานึงถึงขีดความสามารถในการรองรับ (Carrying capacity) ทุกๆ ด้าน                    - ประชาชนในท้องถิ่นจะต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในโครงการต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ (Local participation)                    - มุ่งใช้วัสดุและผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น (Local product)                    - เน้นกระจายรายได้สู้ท้องถิ่น                    - คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมนั้นเป็นคุณค่าที่มีอยู่ในตัวเอง                    - การปรับตัวเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นสิ่งจําเป็น แต่ทั้งนี้ต้องไม่ขัดกับหลักการดังกล่าวข้างต้น
                    - ภาคธุรกิจการท่องเที่ยว องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมและรัฐมีหน้าที่จะต้องทํางานร่วมกันอย่างเสมอภาค และวางอยู่บนหลักการข้างต้น

















2 ความคิดเห็น: