วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การทำงานเพื่อการดำรงชีวิต


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องการทำงานในชีวิตประจำวัน




หลักในการทำงาน 6P  มีดังนี้

p  ที่1  PositiveThinking  การมีทัศนคติเป็นบวก

P  ที่2  Peaceful  Mimd  การมีจิตใจที่สงบ

P  ที่3  Patent  การมีความอดทน

P  ที่5  Polite  การเป็นคนสุภาพ

P  ที่6  Protessional  ความเป็นมืออาชีพในการทำงาน
     

   ในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จจำเป้นต้องมีการปรับปรุง
และพัฒนาวิธีการทำงานอยู่เสมอโดยอาศัยกระบวนการ  PDCA  4  ขั้นตอน
ได้แก่  P  (plan)  D (Doing)  C  (check)  A  (Act)และหลักการ
D  E  V  E  L  O  P  คือหลักการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ
 Development  ตรวจสอบจุดแข็งและจุดบกพร่อง
Endurance  อดทนต่อความเครียดและแรงกดดัน
Versatile  ในการทำงานเป็นกลุ่มนั้นจะต้องอาศัยคนที่มีความรู้ความสามารถ
Energetic  จะต้องมีความกระตือรือร้น
Love  ในการทำงานนั้นต้องรู้สึกรักงาน
Orgenizing  ในการทำงานต้องรู้ว่าควรจัดการอะไรก่อน หลัง
Positive thinking  มองโลกในแง่ดี

3.ทักษะในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิต




ทักษะเพื่อพัฒนาการทำงาน หมายถึง การนำความรู้  ความสามารถ  เทคนิค  และวิธีการต่างๆมาใช้ในการปฎิบัติให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทิภาพ  ซึ่งผู้ปฎิบัติงานจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถในงานที่ทำมีทักษะ ในกานวิเคราะห์งาน  มีการวางแผนในการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สามารถแก้ปัญหาได้  มีความคิดริเริ่ม  มีความสามารถในการบริหารงาน  สามารถปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นและสถานที่ได้เป็นอย่างดี  ที่สำคัญจะต้องสามารถเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้เพื่อการทำงานให้เกิดประประสิทธิ ภาพสูงสุด  ผู้ปฎิบัติงานจะต้องมีการและพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งทักษะเพื่อพัฒนาการทำงานที่สำคัญ  มีดังนี้

    ๑ ทักษะการแสวงหาความรู้
กานทำงานให้สำเร็จและมีประสิทธิภาพได้นั้น  ผู้ปฎิบัติวานจะต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง  การแข่งขัน  ดังนั้น  ผู้ปฎิบัติงานจะต้องมีการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา  เพื่อนำความรู้มาใช้และพัฒนาการทำงานต่างๆ  ทั้งในชีวิตประจำวันและการทำงานร่วมกับผู้อื่นการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาการทำงานเป็การคึกษาหาความรู้ การฝึกฝน เพื่อการทำงานการทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และการสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้งานได้ วิธีการแสวงหาความรู้ มีดังนี้
๑.๑) การสังเกต  โดยเฝ้าดูสิ่งที่เราพเห็นอย่างใส่ใจ แล้วนำมาวิเคราะห์หรือหาความสัมพันธ์สิ่งที่เกิดขึ้นกับสิ่งอื่นๆ



   ๑.๒)การฟัง โยการรับฟังผู้อื่นด้วยใจที่เปิด ไม่คิด เพื่อฟังรับข้อมูลต่างๆแล้วนำมาประมวลผลความคิดเป็นของตนเองเป็นการสั่งสมความรู้ให้กับผู้ฟังได้เป็นอย่างดีแหล่งข้อมลในการฟังที่ดี เช่น เข้าร่วมฟังบรรยาย เข้าร่วมอบรมความรู้ต่างๆ




 ๑.๓) การซักถาม  เมื่อมีการรับฟังข้อมูลจากแหล่งต่างๆ แล้ว เมื่อมมีขัอสงสัยก็ให้ซักถามแต่การซักถามนั้นจะต้องมีการ

 ๑.๔) การอ่าน โดยการคึกษาความรู้จากเอกสาร ตำรา สื่อต่างๆ ที่มีมากมายการอ่านเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ทำให้เป็นคนมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ก้าวทันสถานการณ์เป็นการพัฒนาด้านอารมณ์ ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น การอ่านนวนิยาย

  ๑.๕) การคึกษาค้นคว้า โดยการแแสวงหาข้อเท็จจริงในข่าวสาร ข้อมูล ความเข้าใจ ความคิดเห็นในรูปแบบต่างๆ ด้วยตนเองทั้งตำรา เอกสารทางวิชาการ แหล่งการเรียนรู้จากครอบครัว ชุมชน เป็นต้น


  ๑.๖)การสัมภาษณ์ โดยการสนสนทนพูดคุยกับบุคคลต่างๆ อย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อค้นหาความรู้ ความจริงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า และนำความรู้ที่ได้ไปประโยชน์ในการรวบร่วม เผยแพร่ต่ไป

  ๑.๗) การรวบร่วมและบันทึกข้อมูล วิธีการดำเนินการเพื่อเก็บรวบร่วมข้อมูลจากการแสวงหาความรู้ และบันทึกข้อมูลนั้นให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น บันทึกในแฟ้มเอก บันทึกลงสมุดไว้คอมพิวเตอร์ จัดทำเป็นฐานข้อมูลสารสนเทศ เป็นต้น


๒ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน
ในการทำงานใดๆ ก้ตามต้องพบกับปัญหาและจะต้องมีการตัดสินใจ การแก้ปัญหาจึงเป็นกระบวนการของความพยายามในการทำงานเพื่อให้ประสบความสำเร็จ เมี่อมีปัญหาเกิดขึ้นมาสามารถหาแนวแก้ปํญหาได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งคุณณสมบัติเด่นของนักแก้ปัญหา คือ จะต้องมองเห็นปํญหาตั่งแต่ที่ยังเป็นปัญหาเล็กๆ อยู่ มีมุมมองต่างๆ ที่กว้างไกล กล้าเผชิญกับปํญหาและพยายามหาหนทางใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาอย่างไม่ย่อท้อ ฉับไว แก้ปัญหาได้อย่างเด็ดขาดและท่วงที โดยทั่วไปแล้วกระบวนการแก้ปํญหาในการทำงสนมี ๖ ขั้นตอน ดังนี้










4.การใช้พลังงานและทรัพยากรณ์ อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน

 การพัฒนาที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือของมนุษย์ด้วยกันเอง คือมนุษย์ต้องตระหนักว่า การพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้าได้จําเป็นต้องพัฒนาให้สมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจคุณภาพชีวิต รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งมีหลักการสําคัญของการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืนในสาขาต่างๆ ดังนี้

               1. หลักการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน

 ในการจัดการป่าไม้ต้องคํานึงถึงความยั่งยืนของศักยภาพการอํานวยน้ำ ความยั่งยืนของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ภายในระบบนิเวศ โดยที่ยังคงเอื้อประโยชนให้แก่ประชาชน นักวิทยาศาสตร์ และนักท่องเที่ยวต่อไปได้ ในเรื่องนี้คงจะต้องมีการจัดสรรพื้นที่การใช้ประโยชน์ให้เหมาะสม จะต้องมีการควบคุมการใช้ประโยชน์ในแต่ละประเภทให้มีความรัดกุม ชัดเจนเพียงพอที่จะนําไปปฏิบัติ รวมทั้งต้องหามาตรการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และได้ประโยชน์ไปพร้อมๆ กัน

               2. หลักการใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน

 ทรัพยากรประมงเป็นทรัพยากรที่มีลักษณะเฉพาะตัว คือเป็นสาธารณสมบัติ (Commen Property) ดังนั้นทุกคนจึงมีเสรีภาพในการที่จะเข้าไปเก็บเกี่ยวใช้ประโยชน์จากทรัพยากรนี้ สําหรับข้อเสนอในการควบคุมการใช้ทรัพยากรประมงก็คือ การควบคุมอาชญาบัตรประมง เป็นต้น นอกจากนี้การอนุรักษ์ทรัพยากรประมงที่สําคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในทะเล โดยจะต้องคุ้มครองให้สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นสามารถสืบทอดลูกหลานต่อไปได้ ดังนั้นในการอนุรักษ์ทรัพยากรการประมงจึงจําเป็นต้องศึกษาและกําหนดอาณาเขตพร้อมทั้งควบคุมการใช้ ประโยชน์ พื้นที่ดังกล่าวให้เหมาะสมอีกด้วย 

               3. หลักการทําการเกษตรแบบยั่งยืน 

ปัจจัยที่มีผลให้เกิดระบบเกษตรแบบยั่งยืน มี 2ประการ คือ

                    - ความหลากหลายทางชีวภาพ (Diversity) ของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศเกษตร (Agro-ecosystem) นั้นๆ
                    - ความผสมกลมกลืน ((Harmonization) โดยอาศัยความหลากหลายที่เกิดขึ้นในระบบเกษตรนั้น จะต้องมีความผสมกลมกลืนกัน ในการอาศัยพึ่งพาเกื้อกูลซึ่งกันและกันภายใต้ สถานการณ์ปัจจุบันเกษตรกรจึงต้องเผชิญหน้ากับปัญหาความเสื่อมโทรมของดินปัญหาวัชพืช ปัญหาโรคพืชและแมลงศัตรูพืช ดังนั้นการปรับเปลี่ยนแบบแผนการผลิตโดยสร้างความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบการผลิตและระบบนิเวศเกษตรจึงมีความจําเป็น ดังนั้นระดับที่เกษตรกรแต่ละรายปรับเปลี่ยนได้ก็จะแตกต่างกันไป บางรายอาจจะนําแบบแผนเก่ากลับมาใช้ได้ บางรายอาจจะปรับสู่ระบบเกษตรผสมผสานที่มีกิจกรรมเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ที่เกื้อกูลกัน มีการปรับพื้นที่ เช่น ยกร่อง ขุดบ่อปลามีการทําสวนผลไม้ ปลูกผัก และเลี้ยงสัตว์ รวมถึงการทํานาในอาณาบริเวณที่ใกล้เคียงกัน บางรายที่มีข้อจํากัดในการปรับพื้นที่ และไม่พร้อมที่จะเลี้ยงสัตว์ ก็อาจจะใช้ระบบวนเกษตร ซึ่งอาศัยการพึ่งพากันระหว่างพืชและเน้นความหลากหลายของพืชเป็นหลัก
              4. หลักการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบยั่งยืน 
วิธีการลดมลพิษในระบบการผลิตนั้น อาจทําได้ดังนี้
                    - การจัดการที่ดีในการควบคุมตรวจสอบการทํางานของระบบการผลิตให้เกิดของเสียน้อยที่สุด                    - เปลี่ยนวัสดุการใช้หรือปัจจัยการผลิต หรือเปลี่ยนสูตรการผลิตที่ก่อมลพิษ                    - ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรการผลิตประสิทธิภาพสูงขึ้น                    - หมุนเวียนนําวัสดุกลับมาใช้ใหม่จากของเสียอุตสาหกรรมในประเทศไทยปัญหาในการกําจัดของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมก็ยังคงมีอยู่ เพราะว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เงื่อนไขที่สําคัญที่จะนําไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมแบบยั่งยืน คือความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยที่จะจัดการของเสียของตนเอง เพื่อลดความจําเป็นในการนําเข้าเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีราคาแพงจากต่างประเทศลง
               5. หลักการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน 
ทุกๆ ส่วนในสังคมจะต้องร่วมกันหามาตรการและเป็นผู้ดําเนินการใช้พลังงานอย่างประหยัด
               6. หลักการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน
 การควบคุมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติที่ประสานกลมกลืนกับธรรมชาติ เปิดโอกาสให้กลไกของธรรมชาติดําเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยสามารถรักษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศนั้นให้ดํารงอยู่ได้ ในการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน จะต้องคํานึงถึงการย่อยสลายในระบบนิเวศด้วย เพราะกระบวนการย่อยสลายจะเป็นกระบวนการสําคัญในการทําให้ทรัพยากรเหล่านั้นได้รับการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่จึงเป็นเรื่องจําเป็นที่รัฐบาลจะต้องกําหนดแนวทางในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้ชัดเจน โดยจําแนกทรัพยากรตามศักยภาพการใช้ประโยชน์และคุณค่าทางนิเวศวิทยาถ้าเราสามารถใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน เราก็จะสามารถมีชีวิตอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้อีกมาก ความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำและดิน ความสดชื่นของอากาศและความสวยงามตามธรรมชาติก็คงจะหวนกลับมาและอยู่กับลูกหลานของเราได้ต่อไป
               7. การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน 
หมายถึงการพัฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว และผู้เป็นเจ้าของท้องถิ่นในปัจจุบัน โดยมีการปกป้องและสงวนรักษาโอกาสต่างๆ ของอนุชนรุ่นหลังด้วย การท่องเที่ยวนี้มีความหมายรวมถึงการจัดการทรัพยากรเพื่อตอบสนองความจําเป็นทางเศรษฐกิจ สังคมและความงามทางสุนทรียภาพ ในขณะที่สามารถรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและระบบนิเวศด้วย โดยแนวทางการสร้างกรอบนโยบายและแนวทางปฏิบัติดังนี้
                    - มุ่งพัฒนาการท่องเที่ยวในประเทศก่อนการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ                    - ต้องคํานึงถึงขีดความสามารถในการรองรับ (Carrying capacity) ทุกๆ ด้าน                    - ประชาชนในท้องถิ่นจะต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในโครงการต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ (Local participation)                    - มุ่งใช้วัสดุและผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น (Local product)                    - เน้นกระจายรายได้สู้ท้องถิ่น                    - คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมนั้นเป็นคุณค่าที่มีอยู่ในตัวเอง                    - การปรับตัวเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นสิ่งจําเป็น แต่ทั้งนี้ต้องไม่ขัดกับหลักการดังกล่าวข้างต้น
                    - ภาคธุรกิจการท่องเที่ยว องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมและรัฐมีหน้าที่จะต้องทํางานร่วมกันอย่างเสมอภาค และวางอยู่บนหลักการข้างต้น

















หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 งานประดิษฐ์


1. ความหมายของงานประดิษฐ์


1.1. ความหมายของงานประดิษฐ์ งานประดิษฐ์ หมายถึง สิ่งที่จัดทำขึ้น โดยใช้ความคิด สร้างสรรค์ให้เกิดความประณีต สวยงาม น่าสนใจ เพื่อประโยชน์ที่พึงประสงค์ เช่น งานประดิษฐ์ดอกไม้ ผ้ารองจาน กระเป๋า ตุ๊กตา ที่คั่นหนังสือ กระทงใบตอง บายศรี พานดอกไม้ มาลัยแบบอื่นๆ

1.2. ความสำคัญและประโยชน์ของงานประดิษฐ์

1. 
2.1 ประหยัดค่าใช้จ่าย

1.2.2 ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

1.2.3 ความเพลิดเพลิน

1.2.4 เพิ่มคุณค่าของวัสดุ

1.2.5 สร้างความแปลกใหม่ที่มีอยู่เดิม

1.2.6 ชิ้นตรงตามความต้องการ

1.2.7 เป็นของกำนัลแก่ผู้อื่น2.8 อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย

1.2.8 เพิ่มรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว

1.2.9 เกิดความภูมิใจในตนเอง



2. ประโยชน์ของ งานประดิษฐ์  



1. เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์


2. มีความภูมิใจในผลงานของตน


3. มีรายได้จากผลงาน


4. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ 


5. เป็นการฝึกให้รู้จักสังเกตสิ่งรอบๆ ตัว และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์


3. ลักษณะของงานประดิษฐ์  

1. งานประดิษฐ์ทั่วไป เป็นงานที่บุคคลสร้างขึ้นมาจากความคิดของตนเองโดยอาศัยการเรียนรู้จากสิ่งรอบๆ ตัว นำมาดัดแปลง หรือเรียนรู้จากตำรา เช่น การประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ การประดิษฐ์ดอกไม้


2. งานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย เป็นงานที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษในครอบครัวหรือในท้องถิ่น หรือทำขึ้นเพื่อใช้งานหรือเทศกาลเฉพาะอย่าง เช่น มาลัย บายศรี งานแกะสลัก 


4. ประเภทของงานประดิษฐ์ 


งานประดิษฐ์ต่างๆ สามารถเลือกทำได้ตามความต้องการและประโยชน์ใช้สอย ซึ่งอาจแบ่งประเภทของงานประดิษฐ์ตามโอกาสใช้สอยดังนี้


1. ประเภทใช้เป็นของเล่น เป็นของเล่นที่ผู้ใหญ่ในครอบครัวทำให้ลูกหลานเล่นเพื่อความเพลิดเพลิน เช่น งานปั้นดินเป็นสัตว์ สิ่งของ งานจักสานใบลานเป็นโมบาย งานพับกระดาษ


2. ประเภทของใช้ ทำขึ้นเพื่อเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การสานกระบุง ตะกร้า การทำเครื่องใช้จากดินเผา จากผ้าและเศษวัสดุ


3. ประเภทงานตกแต่ง ใช้ตกแต่งสถานที่ บ้านเรือนให้สวยงาม เช่น งานแกะสลักไม้ การทำกรอบรูป ดอกไม้ประดิษฐ์


4. ประเภทเครื่องใช้ในงานพิธี ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในงานเทศกาลหรือประเพณีต่างๆ เช่น การทำกระทงลอย ทำพานพุ่ม มาลัย บายศรี


5.วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานประดิษฐ์  


การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในการประดิษฐ์ชิ้นงานต้องเลือกให้เหมาะสมจึงจะได้งานออกมามีคุณภาพ สวยงาม รวมทั้งต้องดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องใช้เหล่านี้ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตลอดเวลา และสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้


1. ประเภทของเล่น


- วัสดุที่ใช้ เช่น กระดาษ ใบลาน ผ้า เชือก พลาสติก กระป๋อง


- อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น กรรไกร เข็ม ด้าย กาว มีด ตะปู ค้อน แปรงทาสี


2. ประเภทของใช้


- วัสดุที่ใช้ เช่น กระดาษ ไม้ โลหะ ดิน ผ้า


- อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น เลื่อย สี จักรเย็บผ้า กรรไกร เครื่องขัด เจาะ


3. ประเภทของตกแต่ง 


- วัสดุที่ใช้ เช่น เปลือกหอย ผ้า กระจก กระดาษ ดินเผา


- อุปกรณ์ เช่น เลื่อย ค้อน มีด กรรไกร สี แปรงทาสี เครื่องตอก


4. ประเภทเครื่องใช้ในงานพิธี


- วัสดุที่ใช้ เช่น ใบตอง ดอกไม้สด ใบเตย ผ้า ริบบิ้น


- อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น เข็มเย็บผ้า เข็มร้อยมาลัย คีม ค้น เข็มหมุด


การเลือกใช้และบำรุงรักษาอุปกรณ์ มีหลักการดังนี้


1. ควรเลือกใช้ให้ถูกประเภทของวัสดุและอุปกรณ์


2. ควรศึกษาวิธีการใช้ก่อนลงมือใช้


3. เมื่อใช้แล้วเก็บไว้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย


4. ซ่อมแซมเครื่องมือที่ชำรุดให้พร้อมใช้เสมอ

งานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย                              
1. งานใบตอง
งานประดิษฐ์ดอกไม้ใบตอง เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทยที่มีมาช้านาน ใช้ในงานพิธีต่าง ๆ ในสมัยก่อนงานใบตองประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้ส่วนประกอบของต่าง ๆ ของต้นกล้วย เช่น ใบกล้วยและกาบกล้วยมาประดิษฐ์เป็นบายศรี กระทงดอกไม้ กระทงลอย พานพุ่ม แจกันดอกไม้ ล้วนมาจากสิ่งที่สามารถสูญสลายได้เองตามธรรมชาติ แม้ว่าในปัจจุบันนี้ กระแสทางเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในสังคมไทย แต่งานประดิษฐ์จากใบตองเหล่านี้ก็ยังได้รับการสืบทอด และสืบสานงานฝีมือในแขนงนี้ให้คงอยู่สืบไป
ความหมายและความเป็นมาของใบตอง
              ใบตอง คือ ใบของกล้วย ต้นกล้วย เป็นต้นไม้ที่มีความเกี่ยวพันธ์กับวิถีชีวิตของคนไทย เป็นอย่างยิ่ง ประโยชน์จากกล้วยได้ทั้งต้น ทั้งปลี และผลกล้วยมารับประทาน เช่น ต้น ต้นกล้วยมีกาบกล้วย ที่สามารถฉีกฝอยตากแห้งทำเป็นเชือกกล้วยได้ สามารถทำเป็นอาหาร กาบกล้วยใช้แกะสลักเป็นลวดลายไทยประกอบฐานจิตกาธาน ฐานเชิงตะกอน เรียกว่า “ลายแทงหยวก” ปลี (ดอก) ใช้เป็นเครื่องเคียงรับประทานสด ยำ หรือต้มกะทิ  กาบปลีใช้ตกแต่งประดับเป็นกลีบดอกไม้ หรือเครื่องประกอบการจัดดอกไม้ และผล ใช้รับประทานทั้งสุกดิบ สามารถนำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน เป็นต้น ใบ นำมาใช้งานโดยนำมาเป็นภาชนะสำหรับใส่ขนมหรืออาหารต่าง ๆ อาทิ ขนมกล้วย ข้าวเหนียวปิ้ง ข้าวต้มมัด ห่อหมก ฯลฯ เนื่องจากมีความทนทานต่อความร้อน นอกจากนี้ยังนิยมนำมาประดับพานร่วมกับดอกไม้ เพื่อใช้ในงานพิธีการต่าง ๆ อีกด้วย ศิลปะงานใบตอง เป็นงานประดิษฐ์แบบไทยอีกแบบหนึ่ง ที่มีความละเอียดอ่อน สลับซับซ้อน และทำได้ยาก ต้องอาศัยความชำนาญ ทั้งการเลือกใบตอง ถ้าเลือกไม่ดีใบตองอาจฉีกขาดได้ง่าย จึงต้องอาศัยศึกษาเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ งานใบตองสามารถทำได้หลายแบบทั้งฉีก กรีด เจียน ตัด พับ ม้วน เย็บ ถัก สาน ให้เป็นรูปลักษณะต่าง ๆ ตามความต้องการ
ในอดีตที่ผ่านมา มนุษย์พยายามเรียนรู้ที่จะดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ โดยเน้นความกลมกลืนในรูปแบบของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกัน  ความเป็นอยู่ภายใต้กรอบของการรับและการให้อย่างเหมาะสม สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ซึ่งมนุษย์ได้ดัดแปลงมาจากธรรมชาติ ล้วนแล้วแต่จะมีการนำไปใช้ให้เหมาะสม และมีความสมดุลกับธรรมชาติ ศิลปะงานใบตองเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใดนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่นชัด มีใช้เฉพาะเป็นส่วนประกอบของงานดอกไม้และใช้เป็นภาชนะใส่ขนมและอาหารเท่านั้น ในส่วนของวัฒนธรรม งานฝีมือต่าง ๆ ที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ไทย ต้องยอมรับว่าบรรพบุรุษของเราช่างคิดและประดิษฐ์ผลงาน อันสวยงามที่ทรงคุณค่าเอาไว้ให้เยาวชนรุ่นหลังได้เห็นและเรียนรู้ กับผลงานเหล่านั้นเพื่อช่วยกันพัฒนางานฝีมือให้คงอยู่สืบไป
(พรยุพรรณ พรสุขสวัสดิ์ : 2547)
งานใบตองมีมากมายหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นการประดิษฐ์กระทงลอย, บายศรี, พานขันหมากขันหมั้นการประดิษฐ์ถาดใบตอง ในการประดิษฐ์งานใบตองจะต้องมีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานที่เหมาะสมเพื่อช่วยลดเวลาในการทำงานและยังทำให้งานที่ออกมามีคุณภาพและสวยงามโดยพิจารณาจากการเลือกชนิดของใบตอง กรรไกร เข็ม ด้าย ฯลฯ
ประเภทของงานใบตอง
งานใบตองสามารถแบ่งเป็นประเภทตามลักษณะการนำไปใช้งานได้ ดังนี้
                   1. ประเภทใช้ห่อหรือบรรจุอาหาร ซึ่งงานใบตองประเภทนี้พบเห็นได้โดยทั่วไปในชีวิตประจำวันในยุคหนึ่งใบตองไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากความทันสมัยและความสะดวก ของพลาสติก แต่ปัจจุบันได้มีการรณรงค์ให้ลดใช้พลาสติก จึงมีการนำใบตองกลับมาใช้ในชีวิตประจำวันอีกครั้ง งานใบตองประเภทใช้ห่อหรือบรรจุอาหารได้แก่ การห่อแบบต่างๆ กระทงถาดใบตองและกระเช้า

  2. ประเภทกระทงดอกไม้ มีหลายรูปแบบ ซึ่งในแต่ละแบบพัฒนาและสร้างสรรค์ได้อย่างสวยงาม กระทงทุก ๆ แบบสามารถนำไปใช้ได้หลายโอกาส เช่น ใช้เป็นเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย ใช้เป็นเครื่องสักการะพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ชุดขันหมาก เป็นต้น


   3. ประเภทกระทงลอย กระทองลอย คือ ภาชนะสำหรับใส่ดอกไม้ ธูป เทียน สิ่งของ ที่ลอยน้ำได้ ส่วนใหญ่ประดิษฐ์จากใบตองซึ่งใช้ในเทศกาลวันลอยกระทง


 4. ประเภทบายศรี บายศรี คือ ภาชนะที่ตกแต่งสวยงามเป็นพิเศษ เพื่อเป็นสำรับใส่อาหารคาว หวานในพิธีสังเวยบูชาและพิธีทำขวัญต่างๆ ทั้งพระราชพิธีและพิธีของราษฎร์ บายศรีหลวง” คือ บายศรีที่ใช้ในการประกอบราชพิธีต่าง ๆ ส่วน “บายศรีราษฎร์” คือ บายศรีที่ใช้สำหรับสามัญชนทั่วไป แต่หากจำแนกตามการนำไปใช้ สามารถจำแนกได้หลายแบบ เช่น บายศรีเทพ, บายศรีพรหม, บายศรีใหญ่, บายศรีบัลลังก์ บายศรีต้น, บายศรีปากชาม เป็นต้น ด้วยบายศรีเป็นสิ่งสำคัญเกี่ยวข้องกับความเป็นความตาย การประดิษฐ์บายศรีจึงต้องระมัดระวัง ประดิษฐ์องค์ประกอบต้องครบถ้วน และความระมัดระวังการนำไปใช้อย่างเหมาะสม เพื่อความเป็นมงคลสิริสวัสดิ์ในชีวิต


วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานใบตอง
งานประดิษฐ์จากใบตอง เป็นงานประณีตใช้ฝีมือและทักษะความชำนาญ ใบตองมีหลายชนิดแต่ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการประดิษฐ์ที่สุด คือ ใบตองกล้วยตานี วัสดุ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในงานใบตอง จำเป็นต้องจัดเตรียมไว้ให้เหมาะสมกับชิ้นงาน และมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1. ใบตองตานี มีผิวเป็นมัน สีเขียวเข้ม ไม่แห้งกราก เหนียวนุ่ม ไม่เปราะ ไม่ฉีกขาดง่าย มีความหนาบางพอเหมาะ สีของใบตองจะไม่ตกติดอาหาร ถึงแม้จะถูกความร้อน
2. กรรไกร ขนาดและรูปร่างเหมาะมือ น้ำหนักเบาและคมตลอดปลาย เวลาจับ นิ้วทั้งหมดเข้าช่องได้พอดี ตัดใบตองใช้กรรไกรขนาดใหญ่ ตัดด้ายใช้กรรไกรขนาดเล็ก
3. เข็มมือ ถ้างานละเอียดชิ้นเล็กมากใช้เบอร์ 9 ถ้างานปกติใช้เบอร์ 8 เลือกที่แข็งแรง รูกว้างและตัวยาว
4. เข็มหมุด ชนิดหัวมุกใช้ในบางครั้งที่ต้องการกลัด หรือตรึงให้อยู่กับที่ชั่วคราว ส่วนชนิดหัวเล็กใช้บ่อย ต้องเลือกตัวยาวและปลายแหลม
5. ไม้กลัด ขนาดเล็กแหลมแข็งแรง ใช้ไม้ติดผิวหรือใกล้ผิว
6. ด้าย สีเขียวเข้มหรือสีดำเบอร์ 60 ใช้สองเส้นดีกว่าเส้นเดียว เพราะใช้เส้นเดียวจะมีความคมตัดใบตองให้ขาดง่าย
7. ผ้าขาวบาง สำหรับห่อใบตองที่ฉีกแล้วหรือห่อผลงานที่แช่น้ำพอแล้ว
8. ผ้าเช็ดใบตอง ใช้ผ้าฝ้ายดีกว่าผ้าผสมใยสังเคราะห์ เพราะนุ่มและดูดซึมได้ดีกว่า
9. ไม้บรรทัด เลือกที่เห็นเส้นและบรรทัดชัดเจน
คุณค่าของงานใบตอง
งานใบตองเป็นงานที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ ภูมิปัญญาของบรรพชนไทยสมัยก่อนที่ได้รู้จักประดิดประดอยวัสดุธรรมชาติ มาใช้เป็นภาชนะห่อหุ้มอาหารได้อย่างวิจิตรสวยงามความสำคัญและคุณค่างานใบตอง แบ่งออกได้ 3 ด้วย คือ
1.  คุณค่าทางวัฒนธรรมและสังคม ใบตองกับชีวิตของคนไทยอยู่คู่กันมาตั้งแต่ยุคสมัยโบราณถึงปัจจุบัน ซึ่งมีการนำมาประดิษฐ์เป็นกระทง บายศรี พานขันหมาก พานขันหมั้น ฯลฯ การประดิษฐ์งานใบตองแต่ละอย่างล้วนงดงาม ประณีต ความสามารถของคนไทยไม่มีชนชาติใดในโลกเหมือนซึ่งสมควรที่อนุชนรุ่นหลัง จะถือเป็นหน้าที่ที่ควรหวงแหน และรักษาไว้เป็นศิลปะและวัฒนธรรมประจำชาติสืบไป
2.  คุณค่าทางเศรษฐกิจ การประดิษฐ์งานใบตองนี้สามารถนำไปสร้างรายได้ให้แก่ผู้ที่มีความสามารถทางด้านศิลปะประดิษฐ์ ไม่ว่าจะเป็นการนำไปประกอบอาชีพถาวร หรืออาชีพเสริม เช่น การจัดทำบายศรี การประดิษฐ์กระทงลอย ฯลฯ
3.  คุณค่าทางจิตใจ ขณะในการปฏิบัติงาน ย่อมเกิดความเพลิดเพลิน มีสมาธิ ทำให้ผู้ที่ทำงานด้านนี้มีจิตใจเยือกเย็นสุขุม เกิดความภาคภูมิใจในผลงานที่สำเร็จ และยังเป็นการช่วยดำรงเอกลักษณ์ความเป็นไทยได้อย่างดี
โอกาสพิเศษที่ใช้งานใบตอง
          ในชีวิตประจําวันของคนไทยนั้น มีการนําใบตองมาห่อขนม อาหารต่าง ๆ เช่น การห่อ  ทรงเตี้ย ห่อหมก ห่อข้าวต้มมัด ห่อขนมสอดไส้ ห่อขนมเทียน ฯลฯ นอกจากจะได้รับความสะดวกในการหยิบแล้ว ยังช่วยให้อาหารและขนมบางอย่างมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากขึ้น และยังสามารถนําใบตองมาประดิษฐ์เป็นภาชนะใส่อาหาร หรือขนม ได้หลากหลายแบบ เช่น กระเช้าใบตอง ถาดใบตอง เพื่อมอบให้บุคคลหรือผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือใน โอกาสพิเศษต่าง ๆ ซึ่งเป็นการแสดงความเคารพนับถือ และยังช่วยรักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย ใบตอง มีคุณค่านานัปการต่อความเป็นอยู่ของคนไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบชีวิตที่เรียบง่าย การสร้างสรรค์วัสดุธรรมชาติจนกลายเป็นงานประณีตศิลป์ที่มีคุณค่า และเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตไทย เช่น บายศรี                 พานขันหมาก กระทงลอย ซึ่งเป็นงานที่ใช้ในประเพณีที่ดีงามของไทย และยังได้รับการสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้  ใบตอง ถือว่าเป็นไม้มงคล นํามาประดิษฐ์เป็นงานประณีตศิลป์ใช้ในงานพิธีทางศาสนา เช่น กระทงดอกไม้ กระทงสังฆทาน สลากภัตร พานพุ่ม กรวยอุปัชฌาย์ เป็นต้น

สรุป
ใบตอง คือ ใบของกล้วย ต้นกล้วย เป็นต้นไม้ที่มีความเกี่ยวพันธ์กับวิถีชีวิตของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง ประโยชน์จากกล้วยได้ทั้งต้น ทั้งปลี และผลกล้วยมารับประทาน โดยเฉพาะใบตองที่คนไทยในอดีตนิยมนำมาใช้เป็นภาชนะใส่อาหารทั้งคาวและหวาน  นอกจากนี้  ยังนิยมนำใบตองมาประดับพานร่วมกับดอกไม้ เพื่อใช้ในงานพิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการประดิษฐ์กระทงลอย, บายศรีพานขันหมากขันหมั้นการประดิษฐ์ถาดใบตอง ฯลฯ ในการประดิษฐ์งานใบตองจะต้องมีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานที่เหมาะสมเพื่อช่วยลดเวลาในการทำงานและยังทำให้งานที่ออกมามีคุณภาพ  และสวยงาม โดยพิจารณาจากการเลือกชนิดของใบตอง กรรไกร เข็ม ด้าย ฯลฯ งานใบตองเป็นงานที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ ภูมิปัญญาของบรรพชนไทยสมัยก่อนที่ได้รู้จักนำวัสดุจากธรรมชาติ มาใช้เป็นภาชนะห่อหุ้มอาหารได้อย่างวิจิตรสวยงามความสำคัญและคุณค่างานใบตอง แบ่งออกได้ 3 ด้วย คือ คุณค่าทางวัฒนธรรมและสังคม, คุณค่าทางเศรษฐกิจ และคุณค่าทางจิตใจ ซึ่งในการปฏิบัติงานแต่ละครั้งย่อมเกิดความเพลิดเพลิน มีสมาธิ ทำให้ผู้ที่ทำงานด้านนี้มีจิตใจเยือกเย็นสุขุม เกิดความภาคภูมิใจในผลงานที่สำเร็จ และยังเป็นการช่วยดำรงเอกลักษณ์ความเป็นไทยได้อย่างดี


ที่มา https://sites.google.com/site/milknuchanok/ngan-bitxng



2.งานแกะสลักผักและผลไม้


งานศิลปะดั้งเดิมของไทยนั้นมีอยู่มากมายหลายอย่างหลายแขนง การแกะสลักก็เป็นงานศิลปะอย่างหนึ่งที่ถือเป็นมรดกมีค่าที่สืบทอดกันมาช้านาน เป็นงานฝีมือที่ต้องใช้ความถนัด สมาธิ ความสามารถเฉพาะตัว และความละเอียดอ่อนมาก การแกะสลักผักและผลไม้ เป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ประจำของชาติไทยเลยทีเดียว ซึ่งไม่มีชาติใดสามารถเทียบเทียมได้ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดในปัจจุบันนี้คงจะเป็นเรื่องของการอนุรักษ์ ศิลปะแขนงนี้ที่มีแนวโน้มจะสูญหายไปและลดน้อยลงไปเรื่อยๆ

การแกะสลักผักและผลไม้เดิมเป็นวิชาที่เรียนขั้นสูงของ กุลสตรีในรั้วในวัง ที่ต้องมีการฝึกฝนและเรียนรู้จนเกิดความชำนาญ บรรพบุรุษของไทยเราได้มีการแกะสลักกัน มานานแล้ว แต่จะเริ่มกันมาตั้งแต่สมัยใดนั้น ไม่มีใครรู้แน่ชัด เนื่องจากไม่มีหลักฐานแน่ชัด จนถึงในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ในสมัยของสมเด็จพระร่วงเจ้า ได้มีนางสนมคนหนึ่งชื่อ นางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ได้แต่งหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ขึ้น และในหนังสือเล่มนี้ ได้พูดถึงพิธีต่าง ๆ ไว้ และพิธีหนึ่ง เรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงในวันเพ็ญเดือนสิบสอง เป็นพิธีโคมลอย นางนพมาศได้คิดตกแต่งโคมลอยที่งดงามประหลาดกว่าโคมของพระสนมคนอื่นทั้งปวง และได้เลือกดอกไม้สีต่าง ๆ ประดับให้เป็นลวดลายแล้วจึงนำเอาผลไม้ มาแกะสลักเป็นนกและหงส์ให้เกาะเกสรดอกไม้อยู่ตามกลีบดอก เป็นระเบียบสวยงามไปด้วยสีสันสดสวย ชวนน่ามองยิ่งนัก รวมทั้งเสียบธูปเทียน จึงได้มีหลักฐานการแกะสลักมาตั้งแต่สมัยนั้น

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดการประพันธ์ยิ่งนัก พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์กาพย์แห่ชมเครื่องคาวหวาน และแห่ชมผลไม้ได้พรรณนา ชมฝีมือการทำอาหาร การปอกคว้านผลไม้ และประดิดประดอยขนมสวยงาม และอร่อยทั้งหลาย ว่าเป็นฝีมืองามเลิศของสตรีชาววังสมัยนั้น และทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง สังข์ทอง พระองค์ทรงบรรยายตอนนางจันทร์เทวี แกะสลักชิ้นฟักเป็นเรื่องราวของนางกับพระสังข์ นอกจากนั้นยังมีปรากฏในวรรณกรรมไทยแทบ ทุกเรื่อง เมื่อเอ่ยถึงตัวนางซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่องว่า มีคุณสมบัติของกุลสตรี เพรียกพร้อมด้วยฝีมือการปรุงแต่งประกอบอาหารประดิดประดอยให้สวยงามทั้งมี ฝีมือในการประดิษฐ์งานช่างทั้งปวง ทำให้ทราบว่า กุลสตรีสมัยนั้นได้รับการฝึกฝนให้พิถีพิถันกับการจัดตกแต่งผัก ผลไม้ และการปรุงแต่งอาหารเป็นพิเศษ จากข้อความนี้น่าจะเป็นที่ยืนยันได้ว่า การแกะสลักผัก ผลไม้ เป็นศิลปะของไทยที่กุลสตรีในสมัยก่อนมีการฝึกหัด เรียนรู้ผู้ใดฝึกหัดจนเกิดความชำนาญ ก็จะได้รับการยกย่อง

งานแกะสลักใช้กับของอ่อน สลักออกมาเป็นลวดลายต่างๆอย่างงดงาม มีสลักผัก สลักผลไม้ สลักหยวกกล้วยถือเป็นงานช่างฝีมือของคนไทยที่มีมาแต่โบราณ งานสลักจึงอยู่ในงานช่าง 10 หมู่ เรียกว่า ช่างสลัก ในช่างสลักแบ่งออกย่อย คือ ช่างฉลุ ช่างกระดาษ ช่างหยวก ช่างเครื่องสด ส่วนช่างอีก 9 หมู่ที่เหลือได้แก่ ช่างแกะ ที่มีทั้งช่างแกะตรา ช่างแกะลาย ช่างแกะพระหรือภาพช่างหุ่น มีช่างไม้ ช่างไม้สูง ช่างปากไม้ ช่างปั้น มีช่างขี้ผึ้ง ช่างปูน เป็นช่างขึ้นรูปปูน มีช่างปั้น ช่างปูนก่อ ช่างปูนลอย ช่างปั้นปูน ช่างรัก มีช่างลงรัก มีปิดทอง ช่างประดับกระจก ช่างมุก ช่างบุ บุบาตรพระเพียงอย่างเดียว ช่างกลึง มีช่างไม้ ช่างหล่อ มีช่างหุ่นดิน ช่างขี้ผึ้ง ช่างผสมโลหะ ช่างเขียน มีช่างเขียน ช่างปิดทอง

การสลักหรือจำหลัก จัดเป็นศิลปกรรมแขนงหนึ่งในจำพวกประติมากรรม เป็นการประดิษฐ์วัตถุเนื้ออ่อนอย่างผัก ผลไม้ ที่ยังไม่เป็นรูปร่าง หรือมีรูปร่างอยู่แล้วสร้างสรรค์ให้สวยงามและพิสดารขึ้น โดยใช้เครื่องมือที่มีความแหลมคม โดยใช้วิธีตัด เกลา ปาด แกะ คว้าน ทำให้เกิดลวดลายตามต้องการ ซึ่งงานสลักนี้เป็นการฝึกทักษะสัมพันธ์ของมือและสมอง เป็นการฝึกจิตให้นิ่ง แน่วแน่ต่องานข้างหน้า อันเป็นการฝึกสมาธิได้อย่างดีเลิศ

การสลักผักผลไม้นอกจากจะเป็นการฝึกสมาธิแล้วยังเป็นการฝึกฝีมือให้เกิดความชำนาญเป็นพิเศษ และต้องมีความมานะ อดทน ใจเย็น และมีสมาธิเป็นที่ตั้ง รู้จักการตกแต่ง มีความคิดสร้างสรรค์ การทำงานจ้องให้จิตใจทำไปพร้อมกับงานที่กำลังสลักอยู่ จึงได้งานสลักที่สวยงามเพริศแพร้วอย่างเป็นธรรมชาติ ดัดแปลงเป็นลวดลายประดิษฐ์ต่างๆ ตามใจปรารถนา

ปัจจุบันวิชาการช่างฝีมือเหล่านี้ ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตร ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษามาจนถึงอุดมศึกษาเป็นลำดับ ประกอบกับรัฐบาลและภาคเอกชนได้ให้การสนับสนุน จึงมีการอนุรักษ์ศิลปะต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการแกะสลักผลงานประเภทเครื่องจิ้ม จนกระทั่งงานแกะสลักได้กลายเป็นสิ่งที่ต้องประดิษฐ์ ตกแต่งบนโต๊ะอาหารในการจัดเลี้ยงแขกต่างประเทศ ตามโรงแรมใหญ่ ๆ ภัตตาคาร ตลอดจนร้านอาหาร ก็จะใช้งานศิลปะการแกะสลักเข้าไปผสมผสานเพื่อให้เกิดความสวยงาม หรูหรา และประทับใจแก่แขกในงาน หรือสถานที่นั้น ๆ งานแกะสลักผลไม้ จึงมีส่วนช่วยตกแต่งอาหารได้มาก คงเป็นเช่นนี้ตลอดไป 


ตัวอย่างการแกะสลักดอกไม้แตงกวา

1. เลือกแตงกวาที่สด ผิวเรียบไม่มีรอยช้ำล้างให้สะอาด

2. หั่นแตงกวาออกเป็นสองท่อนตามขวาง

3. คว้านเมล็ดออก

4. ใช้มีดหั่นแตงกวาแบ่งเป็นสี่ส่วน

5. ผ่าลงไปโดยเว้นโคนไว้ประมาณ 1 ซ.ม.

6. ให้มีดตัดกลีบให้เป็นกลีบมนทีละด้าน

7. ตัดกลีบมนทั้งสี่กลีบให้เท่าๆกัน


8. นำเกสรที่ทำจากแครอทมาใส่ตรงกลางดอก

9. เราก็จะได้ดอกไม้แกะสลักจากแตงกวา แตงกวา 1ลูก ทำได้ 2 ดอก

10. นำไปตกแต่งจานอาหารให้สวยงามน่ารับประทานยิ่งขึ้น







ขอบคุณเครดิตจาก  http://www.thaicarvingfruit.com/roseplumkin.html


งานดอกไม้สด

         ประวัติความเป็นมา
พื่อเป็นแนวทางการศึกษาค้นคว้าหาข้ออ้างอิง เพื่อใช้ประกอบเป็นหลักฐานทางด้านประวัติผู้ประดิษฐ์คิดนำดอกไม้สด มาใช้ในพิธีเป็นครั้งแรกหรือบุคคลแรก เพื่อไว้เป็นหลักฐานเรื่องราวให้ชนรุ่นหลัง ได้ทราบประวัติความเป็นมารวมทั้งข้อสันนิษฐานว่าบรรพบุรุษได้นำดอกไม้ ที่มีความสวยงามตามธรรมชาติมาใช้อย่างเป็นพิธีการ เช่น นำมาจัดบูชาพระรัตนตรัย นำมาจัดประดับตกแต่งสถานที่ในงานทั่วไปและในพิธีสำคัญ เพื่อให้มีความสดชื่นสวยงาม หรูหราและตื่นตา และเป็นบรรยากาศที่เต็มไปด้วยสีสันหลากหลายของดอกไม้ และได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้
ตามหลักฐานที่ได้ศึกษาค้นคว้า ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระนิพนธ์ไว้ เมื่อปีชวด พ.ศ.2431 ได้ทรงบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย ได้กล่าว ถึงนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ได้ตกแต่งโคมลอย เพื่อใช้ในพิธีสิบสองเดือนและพระราชพิธีการลอยพระประทีป ซึ่งได้ประดับตกแต่งด้วยดอกไม้สด ผลไม้แกะสลัก มาประดับตกแต่งโคมลอยให้มีความสวยงามยิ่งและได้ทรงกล่าวไว้ว่า ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ซึ่งเป็นพระสนมเอกแต่ครั้งพระเจ้าอรุณมหาราช คือ พระร่วงเจ้าเป็นพระเจ้าแผ่นดินสยามตั้งแต่อยู่ ณ เมืองสุโขทัย ในพระราชนิพนธ์ได้กล่าวว่า นางนพมาศได้เข้ารับราชการได้คิดอ่านทำกระทงดอกไม้พระเจ้าแผ่นดิน ประดิษฐ์เป็นรูปดอกบัว
จากหลักฐานอ้างอิงได้กล่าวมา น่าจะเป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่า นางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นสตรีไทยท่านแรกที่เป็นผู้ริเริ่มนำเอาดอกไม้สดมาใช้ในพิธีการตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นครั้งแรก และได้สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้
ข้อความในประวัติการร้อยลัย (จันทนา สุวรรณมาลี, 2529) ได้เขียนไว้ในหนังสือตอนหนึ่งว่า “บรรพบุรุษของไทยเรามีชื่อสียงในงานด้านศิลป์อย่างมากมาย โดยเฉพาะการนำดอกไม้สดมาประดิษฐ์เป็นพวงดอกไม้และนำมาประดิษฐ์ตกแต่งโคมลอย ได้สวยงามของนางนพมาศแล้ว” ยังมีหลักฐานได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “ในเดือนเมษายน มีพระราชพิธีสนามใหญ่ บรรดาเจ้าเมือง เศรษฐี คหบดี เข้าเฝ้าบังคมพระร่วงเจ้า เพื่อถวายเป็นเครื่องบรรณาการ พระสนมกำนัลต่างๆ ก็ร้อยกรองดอกไม้เป็นรูปสัตว์ต่างๆ และในครั้งนั้นนางนพมาศก็ร้อยดอกไม้สีเหลืองเป็นรูปพานทองสองชั้นเป็นระย้าสองชั้น งดงามใส่ลงในพานขันหมากเมี่ยงแล้วร้อยดอกไม้เป็นตาข่ายคลุมขันอีกชั้นหนึ่ง ดูเป็นที่เจริญตาและถูกฤดูกาลเทศะอีก สมเด็จพระร่วงเจ้าทรงบัญญัติว่า ถ้าชาวไทยทำการรับสนามใหญ่ มีอาวาหมงคลหรือลิลาหมงคล เป็นต้น ในการกรองดอกไม้เป็นรูปพานขันหมาก ดังนี้เรียกว่า พานขันหมาก”





วิธีการจัดดอกไม้สด







การเตรียมดอกไม้ก่อนจัด


1. ดอกไม้ ใบไม้ ที่ซื้อมาจากตลาดต้องนำมาพักไว้ในน้ำอย่างน้อย 45 นาที – 2 ชั่วโมง
2. นำดอกไม้มาลิดใบที่ไม่สวย เหี่ยว หรือไม่จำเป็นออกไป
3. ตัดก้านดอกไม้ใต้น้ำ หากก้านไม่แข็งให้ตัดตรง หากก้านแข็งให้ตัดเฉียงประมาณ 1 นิ้ว
4. แช่ดอกไม้พักไว้ในน้ำมาก ๆ
5. ดอกไม้ที่ซื้อมาค้างคืนให้ห่อด้วยใบตองหรือกระดาษ นำไปแช่ไว้ในถังน้ำ เพื่อไม่ให้ดอกบานเร็ว
เตรียมการจัดดอกไม้
1.การแช่ Floral Foam ให้นำน้ำใส่ภาชนะปากกว้างปริมาณมากๆวางก้อน Floral Foam ลงบนน้ำให้น้ำค่อยๆซึมผ่านขึ้นมา ห้ามกดให้จมน้ำห้ามนำน้ำมาราดลงบนก้อน Floral Foam เด็ดขาด เพราะน้ำจะไปอุดตันช่องระบายอากาศ ทำให้น้ำซึมผ่านเขาไปข้างในได้ยาก การแช่ Floral Foam ควรแช่อย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อให้ดูดซึมน้ำได้เต็มที่ และเพื่อให้เกลือที่ผสมอยู่ไหลออกมา หรือทางที่ดีควรแช่ค้างคืนไว้ก็ได้ เกลือที่ผสมอยู่ไหลออกมา หรือทางที่ดีควรแช่ค้างคืนไว้ก็ได้ ้เกลือที่ผสมอยู่ในก้อน Floral Foam จะมีลักษณะเป็นน้ำสีน้ำตาลแดง มีผลทำให้ก้านดอกไม้เน่าเร็วและทำให้น้ำที่แช่ Floral Foamมีกลิ่นเหม็นเร็วขึ้น

2.การบรรจุ Floral Foam ลงในภาชนะ ถ้าเป็นภาชนะประเภทตะกร้าควรมีมีการรองรับน้ำให้เรียบร้อย แต่ไม่ว่าภาชนะจะเป็นตะกร้าหรือแจกันก็ตาม จะต้องเปิดช่องไว้สำหรับเติมน้ำ และจะต้องบรรจุให้สูงกว่าปากภาชนะประมาณ 2-3 เซนติเมตร หรือถ้าต้องการปักดอกไม้ปริมาณมากๆ ให้บรรจุให้สูงกว่าที่กำหนดก็ได้ นอกจากนั้นควรปากเหลี่ยม Floral Foamบริเวณปากภาชนะออก เพื่อเปิดพื้นที่ในการปักให้มากขึ้น และเพื่อเพิ่มความสะดวกในการปิดฐานของการจัดได้ง่ายขึ้น การบรรจุ Floral Foam ถ้าต้องการให้มีความปลอดภัยต่อการแตกกระจายในขณะจัด และปลอดภัยต่อการเคลื่อนย้าย ควรหุ้มด้วยลวดตาข่ายให้แน่นหนา เมื่อบรรจุเสร็จเรียบร้อย ควรเปิดน้ำใส่ให้เต็มและเทน้ำทิ้ง เพื่อเป็นการล้างเกลือและเศษของ Floral Foam เติมน้ำลงไปใหม่ เป็นอันพร้อมที่จะจัดดอกไม้ได้


3.การตัดก้านดอกไม้ ต้องตัดก้านด้วยมีดคมๆให้เฉียงมากๆ โดยใช้มือซ้ายจับก้านหงายขึ้น มือขวาจบมีด หัวแม่มือขวาจะเป็นตัวประคองก้านดอกไม้ไว้ตลอดเวลา การตัดก้านด้วยมีด จะทำให้ก้านดอกไม้ไม่ช้ำ สามารถดูดน้ำได้เต็มที่ และนอกจากนี้ยังสามารถบังคับองศาของการตัดได้อย่างที่เราต้องการ การตัดก้านให้เฉียงมากๆ จะมีผลต่อการดูดน้ำของดอกไม้และยังสามารถทำให้การปักดอกไม้มีความมั่นคง และนอกจากนี้ยังทำให้ Floral Foam แตกได้ยาก การตัดก้านดอกไม้ และเวลาปักจะต้องหันหน้าของดอกไม้หันหน้าขึ้นไปรับแสงอาทิตย์ การทำลักษณะนี้จะทำให้สภาพการปักดอกไม้มีความเป็นธรรมชาติมากที่สุด



หลักการจัดดอกไม้
สิ่งที่ต้องเตรียม
1. ภาชนะสำหรับจัด หมายถึง ภาชนะสำหรับรองรับดอกไม้มีหลายชนิด เช่น แจกันรูปทรงต่าง ๆ เช่น กระบุง ตะกร้า ชะลอม
2. ที่สำหรับรองภาชนะ เมื่อจัดดอกไม้เสร็จควรมีสิ่งรองรับเพื่อความสวยงาม ความโดดเด่นของแจกัน เช่นไม้ไผ่ขัดหรือสานเป็นแพ กระจก แป้นไม้
3. กรรไกรสำหรับตัดแต่ง
4. เครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ลวด ทราย ดินน้ำมัน กระดาษสี ฟลอร่าเทปสีเขียว ก้านมะพร้าว ลวดเบอร์ 24 และ เบอร์ 30
5. ดอกไม้ประดิษฐ์พร้อมใบไม้สำเร็จ
6. เครื่องประกอบตกแต่ง เช่น กิ่งไม้ ขอนไม้ ตุ๊กตา ขดลวด เป็นต้น
หลักทั่วไปในการจัดแจกันดอกไม้
1. หน้าที่และประโยชน์ใช้สอย ก่อนจัดควรจะทราบวัตถุประสงค์ในการจัดตกแต่งก่อนว่า จะใช้ในงานอะไร และจะจัดวางที่ไหน เช่น วางกลางโต๊ะ วางมุมโต๊ะ ชิดผลัก หรือแจกันติดผนัง เป็นต้น และควรดูด้วยว่า ลักษณะของห้องที่จะจัดวางเป็นห้องลักษณะแบบใด ทรงใด และขนาดเล็ก ปานกลางหรือใหญ่ เพื่อเราจะได้เลือกแจกันและดอกไม้ที่เหมาะสมกับห้องนั้น ๆ ด้วย
2. สัดส่วน สัดส่วนเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่จะกำหนดว่าแจกันที่จัดเสร็จจะสวยหรือไม่สวย ถ้าสัดส่วนไม่สมดุลย์แจกันที่จัดออกมาก็ไม่สวย สิ่งที่ต้องคำนึง
2.1 ภาชนะทรงเตี้ย ความสูงที่จัดควรเป็น 1.5-2 เท่า ของความกว้างของภาชนะ
2.2 ภาชนะทรงสูง ความสูงที่จัดควรเป็น 1.5-2 เท่า ของความสูงของภาชนะ
3. การเทียบส่วน ระหว่างดอกไม้กับแจกัน, แจกันกับขนาดของห้อง
4. ความสมดุลย์ เป็นความถ่วงดุล เช่น ซ้ายขวาเท่ากัน หรือ สองข้างไม่เท่ากันแต่หนักไปทางใดทางหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้จัด
5. การเลือกสี เส้นและขนาดให้แตกต่าง กัน เช่น สีกลาง อ่อน เส้นที่โค้งเรียว ขนาดดอกมีใหญ่เล็กเป็นต้น
6. ความกลมกลืน คือ การเข้ากันอย่างสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ
7. ความแตกต่าง เช่น สีของดอก ใบ และภาชนะที่มีสีแตกต่างกัน แต่ความแตกต่างไม่ควรเกิน 20%
8. การสร้างจุดเด่น คือ จัดให้มีตัวเด่น ตัวรอง และให้มีการส่งเสริมกันและกัน
สิ่งควรคำนึงในการจัด ดอกไม้
1. สัดส่วน ควรให้ความสูงของดอกไม้พอดีกับแจกันเช่น แจกันทรงสูง ดอกไม้ดอกแรกควรสูง เท่ากับ 1.5 – 2 เท่าของความสูงของแจกัน สำหรับแจกันทรง     เตี้ยดอกไม้ดอกแรกควรสูง เท่ากับ 1.5 – 2 เท่าของความกว้างของแจกัน
2. ความสมดุยลควรจัดให้มีความสมดุลไม่หนักหรือเอียงข้างใดข้างหนึ่ง
3. ความกลมกลืน เป็นหัวใจของการจัดต้องมีความสัมพันธ์ทุกด้านตั้งแต่ขนาดของแจกัน ความเล็กและใหญ่ของดอกไม้ ความมากน้อยของใบที่นำมาประกอบ
4. ความแตกต่าง เป็นการจัดที่ทำให้สวยงามสะดุดตา เช่นจัดดอกไม้เล็ก ๆ และมีดอกใหญ่เด่นขึ้นมา
5. ช่วงจังหวะ ช่วยให้ดอกไม้มีชีวิตมากขึ้น ควรไล่ขนาด ดอกตูม ดอกแย้ม จนถึงดอกบาน
6. การเทียบส่วน เป็นความสัมพันธ์กับส่วนต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ดอกเล็กควรใส่แจกันใบเล็ก ตลอดจนที่

รูปแบบการจัดดอกไม้

การจัดดอกไม้โดยทั่ว ๆ ไปแบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้

1. การจัดดอกไม้เลียนแบบธรรมชาติ ( เพื่อใช้เอง) เป็นการจัดดอกไม้แบบง่าย ๆ เพื่อประดับตกแต่งบ้าน โดยอาศัยความเจริญเติบโตของต้นไม้ ดอกไม้ กิ่งไม้ นำมาจัดลงภาชนะ โดยใช้กิ่งไม้ขนาดต่าง ๆ 3 กิ่ง การจัดดอกไม้แบบนี้ นิยมนำหลักการจัดดอกไม้จากประเทศญี่ปุ่นมาประยุกต์
2. การจัดดอกไม้แบบสากล นิยมจัด 7 รูปแบบ คือ รูปทรงแนวดิ่ง ทรงกลม ทรงสามเหลี่ยมมุมฉากทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า ทรงพระจันทร์คว่ำ ทรงพระจันทร์เสี้ยว ทรงตัวเอส
3. การจัดดอกไม้แบบสมัยใหม่ เป็นการจัดดอกไม้ที่มีรูปแบบอิสระ เน้นความหมายของรูปแบบบางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้ดอกไม้แต่อาจใช้วัสดุหรือภาชนะเป็นจุดเด่นเป็นการสร้างความรู้สึกให้ผู้พบเห็น การจัดดอกไม้แบบนี้ยังอาศัยหลักเกณฑ์ สัดส่วนและความสมดุลด้วย
การเตรียมดอกไม้ก่อนจัด

1. ดอกไม้ ใบไม้ ที่ซื้อมาจากตลาดต้องนำมาพักไว้ในน้ำอย่างน้อย 45 นาที – 2 ชั่วโมง

2. นำดอกไม้มาลิดใบที่ไม่สวย เหี่ยว หรือไม่จำเป็นออกไป

3. ตัดก้านดอกไม้ใต้น้ำ หากก้านไม่แข็งให้ตัดตรง หากก้านแข็งให้ตัดเฉียงประมาณ 1 นิ้ว

4. แช่ดอกไม้พักไว้ในน้ำมาก ๆ

5. ดอกไม้ที่ซื้อมาค้างคืนให้ห่อด้วยใบตองหรือกระดาษ นำไปแช่ไว้ในถังน้ำ เพื่อไม่ให้ดอกบานเร็ว
หลักทั่วไปในการจัดแจกันดอกไม้
1. หน้าที่และประโยชน์ใช้สอย ก่อนจัดควรจะทราบวัตถุประสงค์ในการจัดตกแต่งก่อนว่า จะใช้ในงานอะไร และจะจัดวางที่ไหน เช่น วางกลางโต๊ะ วางมุมโต๊ะ ชิดผลัก หรือแจกันติดผนัง เป็นต้น และควรดูด้วยว่า ลักษณะของห้องที่จะจัดวางเป็นห้องลักษณะแบบใด ทรงใด และขนาดเล็ก ปานกลางหรือใหญ่ เพื่อเราจะได้เลือกแจกันและดอกไม้ที่เหมาะสมกับห้องนั้น ๆ ด้วย
2. สัดส่วน สัดส่วนเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่จะกำหนดว่าแจกันที่จัดเสร็จจะสวยหรือไม่สวย ถ้าสัดส่วนไม่สมดุลย์แจกันที่จัดออกมาก็ไม่สวย สิ่งที่ต้องคำนึง
2.1 ภาชนะทรงเตี้ย ความสูงที่จัดควรเป็น 1.5-2 เท่า ของความกว้างของภาชนะ
2.2 ภาชนะทรงสูง ความสูงที่จัดควรเป็น 1.5-2 เท่า ของความสูงของภาชนะ
3. การเทียบส่วน ระหว่างดอกไม้กับแจกัน, แจกันกับขนาดของห้อง
4. ความสมดุลย์ เป็นความถ่วงดุล เช่น ซ้ายขวาเท่ากัน หรือ สองข้างไม่เท่ากันแต่หนักไปทางใดทางหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้จัด
5. การเลือกสี เส้นและขนาดให้แตกต่าง กัน เช่น สีกลาง อ่อน เส้นที่โค้งเรียว ขนาดดอกมีใหญ่เล็กเป็นต้น
6. ความกลมกลืน คือ การเข้ากันอย่างสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ
7. ความแตกต่าง เช่น สีของดอก ใบ และภาชนะที่มีสีแตกต่างกัน แต่ความแตกต่างไม่ควรเกิน 20%
8. การสร้างจุดเด่น คือ จัดให้มีตัวเด่น ตัวรอง และให้มีการส่งเสริมกันและกัน

วัสดุ อุปกรณ์ในการจัดดอกไม้
วัสดุอุปกรณ์ในการจัดดอกไม้ มีมากมายหลายแบบขึ้นอยู่กับนักจัดดอกไม้ที่จะเลือกใช้ สำหรับวัสดุอุปกรณ์พื้นฐานที่นิยมใช้ในการจัดดอกไม้มีดังนี้
1.กรรไกร มีด คีม ชนิดของกรรไกรมีดั้งนี้ กรรไกรตัดดอกไม้ กรรไกรตัดกิ่งไม้ กรรไกรตัดกระดาษและริบบิ้น มีดตัดดอกไม้ มีดตัดฟลอร่าโฟม มีดตัดไม้ คีมตัดลวด
2.ฟลอร่าโฟม คุณสมบัติดูดซึมและอุ้มน้ำ ก่อนใช้จะต้องแช่น้ำให้ชุ่มเป็นวัสดุที่ใช้ปักดอกไม้ ข้อควรระวังในการใช้ฟลอร่าโฟม น้ำต้องเข้าถึงกลางก้อนและต้องดูดน้ำให้เต็มที่ วัสดุธรรมชาติอื่นๆนำมาใช้แทนฟลอร่าโฟม เช่น ก้านผักตบชวาก็ใช้ได้เป็นการประยุกต์วัสดุท้องถิ่น แต่ไม่แนะนำเพราะไม่เป็นสากล ทั่วโลกเขาไม่ใช้กันใช้เฉพาะร้านดอกไม้บางกลุ่มในประเทศไทยเท่านั้น
3.ภาชนะ มีหลากหลายรูปแบบเช่น แจกัน กระเช้าไม้  มีให้เลือกทั่งของในประเทศและต่างประเทศเลือกใช้ตามความเหมาะสมกับงานที่ออกแบบไว้ ข้อควรระวังต้องไม่รั่ว สีไม้ตกเมื่อโดนน้ำ
4.กระดาษและอุปกรณ์ห่อช่อดอกไม้ ได้แก่ กระดาษสา มีทั้งกระดาษสาไทย สาเกาหลี รามี่ ป่านธรรมชาติ พลาสติกลวดสายต่างๆ การใช้สาไทยต้องระวังเพราะสาไทยไม่กันน้ำเมื่อโดนน้ำจะยุ้ย ส่วนกระดาษสาเกาหลีจะกันน้ำใช้งานได้ดี
5.ริบบิ้น ริบบิ้นสีต่างๆมีขนาดความกว้างและยาวให้เลือกตามความเหมาะสม ริบบิ้นเมื่อทำเป็นโบว์นำมาเสริมแต่งทำให้ผลงานดูสวยงาม แต่ก็ขึ้นอยู่กับผลงานบางผลงานก็ไม่จำเป็นเพราะต้องการให้ดูเป็นธรรมชาติแบบเรียบๆ
6.กระบอกฉีดน้ำ เป็นสิ่งจำเป็นอีกชิ้นหนึ่ง เมื่อจัดดอกไม้เสร็จควรฉีดน้ำจะทำให้ดูสดชื่น ในการฉีดน้ำควรมีลักษณะเป็นละอองถ้าฉีดแร็งและมากเกินไปจะทำให้ดอกไม้ช้ำ น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำสะอาดไม่มีสิ่งปลอมปนใดๆ
7.อุปกรณ์อื่นๆ ที่นำมาใช้ในการจัดดอกไม้เช่น สเปรย์ฉีดใบมัน สีสเปรย์สำหรับพ่นดอกไม้ กาวสำหรับติดดอกไม้ใบไม้ ฟลอร่าเทปสีต่างๆสำหรับพันต่อก้านดอกไม้ให้ยาว เป็นต้น